ความรู้ในการจัดฟันด้านใน
ความรู้ในการจัดฟันด้านใน ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการจัดฟัน เครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์ การปฎิบัติตนระหว่างการจัดฟัน การจัดฟันด้านในหรือลิงกัวออร์โทดอนติกส์(Lingual Orthodontics) ประวัติความเป็นมาของการจัดฟันด้านใน
ความรู้ในการจัดฟันด้านใน
ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการจัดฟัน
เครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์
การปฎิบัติตนระหว่างการจัดฟัน
การจัดฟันด้านในหรือลิงกัวออร์โทดอนติกส์(Lingual Orthodontics)
ประวัติความเป็นมาของการจัดฟันด้านใน
ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการจัดฟัน
การจัดฟันเป็นการรักษาหรือแก้ไขความผิดปกติของฟันดังนั้นผู้ป่วยที่มีความประสงค์
จะรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันมักจะมีเหตุผลใหญ่ๆ 2 ประการ
1. การรับการรักษาทางทันกรรมจัดฟันเพื่อความสวยงาม เช่น ฟันยื่น หรือฟันซ้อนเก เป็นต้น
2.การรับการรักษาทางทันกรรมจัดฟันเพื่อแก้ไขความผิดปกติของอวัยวะรอบ ช่องปาก ข้อต่อขากรรไกร และการบดเคี้ยวของฟัน
การรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันมีวิธีิหรือเทคนิกในการรักษาต่างๆและแต่ ละวิธีก็มีรายละเอียดในการรักษาต่างกัน โดยทั่วไปพอจะจำแนกจากเครื่องมือ
วัสดุที่ใช้ในทางการรักษาทางทันกรรมจัดฟันคือ
1. การรับการรักษาทางทันกรรมจัดฟันโดยใช้เครื่องมือชนิดถอดได้
2. การรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันโดยใช้เครื่องมือชนิดติดแน่นซึ่งแบ่ง ได้เป็น 2 ชนิด
2.1. การรับการรักษาทางทันกรรมจัดฟันโดยใช้เครื่องมือชนิดติดแน่น ทาง ด้านนอกของตัวฟัน การจัดฟันชนิดนี้จะมีอุปกรณ์ เช่น แบรกเกต ลวด ติดที่ผิวฟันด้านนอกของฟัน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
2.2. การรับการรักษาทางทันกรรมจัดฟันโดยใช้เครื่องมือชนิดติดแน่น ด้านในของตัวฟัน การจัดฟันชนิดนี้จะมีเครื่องมือ ติดที่ผิวฟันด้านใน เป็นการปิดบังไม่ให้เห็นเครื่องมือขณะจัดฟัน
การรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันควรมีข้อพิจารณาดังนี้
1. การพิจารณาหรือการตัดสินใจว่า ท่านสมควรจัดฟันหรือไม่ โดยพิจารณาจากความผิดปกติของฟันและอวัยวะรอบช่องปาก ค่าใช้จ่ายในการจัดฟัน ตลอดจนผลข้างเคียงหรือผลการรักษาทางการจัดฟัน
2. สถานที่ และเวลาทำการของทันตแพทย์ที่ให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน สถานที่ที่จะรับการรักษาควรเดินทางสะดวกเพราะผู้ป่วยจะต้องมีการรักษาเป็น ประจำ ในส่วนของทันตแพทย์ผู้รักษาควรเป็นทันตแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมทาง ทันตกรรมจัดฟันและผลงานในการรักษาทางการจัดฟันโดยผู้ป่วยควรขอดูผลการรักษา จากทันตแพทย์หรือขอข้อมูลของผู้ป่วยท่านอื่นๆที่ทันตแพทย์ให้บริการทางการ จัดฟัน เสร็จแล้วซึ่งผู้ป่วยสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลจากผู้ป่วยท่านอื่นๆที่รับการ รักษาทางการ จัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนของการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
1. การตรวจสอบประวัติ ซึ่งประกอบด้วย
1.1 การตรวจความผิดปกติของฟันและอวัยวะรอบช่องปาก
1.2 การพิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลองการสบฟัน
1.3 การถ่ายภาพฟันและอวัยวะรอบช่องปาก
1.4 การถ่ายภาพ เอ็กเรย์ของกะโหลกศีรษะ การตรวจสอบประวัติต่างๆข้างต้นทันตแพทย์ที่ให้การรักษาทางการจัดฟัน ควรจะปติบัติใน ผู้ป่วยทุกท่านที่ประสงค์จะรับการรักษาทางการจัดฟันเพราะข้อมูลต่างๆจำเป็น ต่อการวาง
แผนการรักษาทางการจัดฟัน
รูปถ่ายที่จะบันทึกก่อนการจัดฟัน
ภาพรังสีที่จำเป็นก่อนการจัดฟัน
2. การเสนอและอธิบายรายละเอียดแผนการรักษาทางการจัดฟันใหัผู้ป่วย ขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะอธิบายแผนการรักษาทางการจัดฟันโดยอาศัยข้อมูลต่างๆจาก การ วิเคราห์ะค่ามุมหรือตัวเลขต่างๆที่ได้จากการวัดบนภาพเอ็กเรย์ และแบบจำลองฟัน ผู้ป่วยสามารถสอบถามและทำความเข้าใจในแผนการรักษาต่างๆเช่น ระยะเวลาในการรักษาโดยประมาณชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาและในขั้นตอน นี้ ผู้ป่วยมีสิทธิของผู้ป่วยโดยข้อมูลต่างๆเหล่านี้ผู้ป่วยสามารถขอหลักฐาน ข้อมูลการวิเคราะห์ นี้ไปขอความคิดเห็นต่อแผนการรักษาทางการจัดฟันจากทันตแพทย์ท่านอื่นในกรณี ที่ผู้ป่วย
มีข้อสงสัยในแผนการรักษาทางการจัดฟัน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ในการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน
4. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษาจนเสร็จควรเป็นค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด และรายละเอียดวิธีชำระค่ารักษาเพราะทันตแพทย์ที่ให้การรักษาจะมีวิธีชำระค่า รักษาต่างกัน
5. ผลข้างเคียงจากการจัดฟัน โดยเครื่องมือที่ใช้จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อฟันและ อวัยวะในช่องปากได้เช่นริมฝีปากและฟันและในกรณีที่มีปัญหาของเครื่องมือใน การจัดฟัน และทันตแพทย์จัดฟันไม่อยู่จะมีทันตแพทย์ท่านอื่นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่
6. การใส่เครื่องมือคงสภาพฟันหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟันแล้ว การจัดฟันโดยทั่วไปจะมีเครื่องมือ 2 ชุด ชุดแรกจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเคลื่อนฟัน โดยจะติดแน่นบนตัวฟันอาจจะเป็นด้านนอกของฟันหรือติดด้านในของฟันภายหลังจาก การ จัดฟันแล้วทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือชนิดแรกออกและจะใส่เครื่องมือชนิดที่ 2 เรียกว่าเครื่องมือคงสภาพฟันส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือชนิดถอดได้และมีหลาย ชนิด ผู้ป่วย ควรจะขอดูตัวอย่างของเครื่องมือคงสภาพฟัน และระยะเวลาในการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน
เครื่องมือคงสภาพฟันหรือ รีเทนเนอร์
เครื่องมือคงสภาพฟัน( Retainer) ภายหลังจากการถอดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะใส่ เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์( Retainer) เพื่อให้กระดูกและอวัยวะรอบฟันมีการ ปรับตัวและการสร้างเนื้อเยื่อรอบรากฟันเพื่อให้ฟันคงสภาพในตำแหน่งใหม่จาก การเคลื่อน ฟันการใส่รีเทนเนอร์ เป็นขั้นตอนหนึ่งเพื่อคงสภาพฟัน มีความสำคัญมากในการจัดฟัน โดยอาศัยความร่วมมือในการใส่ถอดและการดูแลรักษาตลอดจนการทำความสะอาดเครื่อง มือ ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ และพบทันตแพทย์จัดฟันอย่างสม่ำเสมอตามการนัดหมาย
ชนิดของเครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์
เครื่องมือคงสภาพฟันหรือรีเทนเนอร์อาจจะแบ่งโดยทั่วไปได้ 2 ชนิด คือ ชนิดถอดออกได้ และชนิดติดแน่นกับฟัน
1. รีเทอนเนอร์ชนิดถอดได้จะประกอบด้วยโครงพลาสติด และมีลวดวางบนตัวฟัน หรือบางชนิดจะมีแต่แผ่นพลาสติกอย่างเดียวตามตัวอย่างดังรูป
2. รีเทนเนอร์ชนิดติดแน่นที่ถูกยึดติดกับฟันด้านใน มักใช้ติดแน่นบริเวณด้านใน ของฟันหน้าล่าง
ผู้ป่วยจะใช้เครื่องมือคงสภาพฟันชนิดไหนขึ้นกับการวางแผนการรักษาและสาเหตุ ของความผิดปกติของฟันก่อนการจัดฟันเพื่อการคงสภาพฟันให้สวยงาม
ระยะเวลาในการใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน
ระยะเวลาในการใส่เครื่องมือคง สภาพฟันจะไม่เหมือนกันในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับสภาพ และความผิดปกติก่อนการจัดฟัน โดยส่วยใหญ่แล้ว ในปีแรกหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน ควรใส่เครื่องมือคงสภาพฟันตลอดเวลา จะถอดออกเฉพาะเวลารับประทานอาหาร และแปรงฟันเท่านั้นและภายหลังจากการตรวจเป็นระยะทันตแพทย์จะปรับเวลาการใส่ ่เครื่องมือคงสภาพฟันเช่น อาจจะให้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันเฉพาะเวลากลางคืนหรืออื่นๆ
การเก็บรักษาเครื่องมือคงสภาพฟัน
เครื่องมือคงสภาพฟันเมื่อถอดออกเวลารับประทานอาหารควรเก็บในกล่องที่พกพาสะดวก เพื่อป้องกันการสูญหายและแตกหักของเครื่องมือ
การทำความสะอาดเครื่องมือคงสภาพฟัน
เครื่องมือคงสภาพฟันทำความสะอาดด้วย แปรงสีฟันและยาสีฟันเหมือนกับการแปรงฟัน หรือแช่ในน้ำที่มีน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม การทำความสะอาดควรจับเครื่องมือให้ กระชับไม่ลื่นหลุด เพราะอาจตกแตกหรือเครื่องมือบิดเบี้ยว และถ้าเครื่องมือแตกหัก ควรติดต่อทันตแพทย์ที่ให้การรักษาทำเครื่องใหม่และที่สำคัญคือผู้ป่วยจะต้อง ตรวจ สภาพฟันและเครื่องมือคงสภาพฟันต่ออีกระยะหนึ่งตามแผนการรักษาทางการจัดฟัน